ความเป็นมา ของ ฮุจญะตุลลอฮ์ อัลมะฮ์ดี

ความเชื่อเกี่ยวกับมะฮ์ดีและกออิมของชีอะฮ์

ตามที่ ญาซิม ฮุเซน ได้อธิบายไว้ว่า ความหมายของ "มะฮ์ดี" ในฐานะผู้ชี้นำนั้นถูกนำมาใช้ตั้งแต่สมัยท่านศาสดา (ศ็อลฯ)  ชาวซุนนีก็ใช้คำนี้เรียก คุละฟาอัรรอชิดีน  และชีอะฮ์ก็ใช้เรียกบรรดาอิมาม เช่น ในการลุกขึ้นต่อสู้ของ ฮุเซน บิน อา ชีอะฮ์กูฟะฮ์ได้เชิญชวนท่านในฐานะของมะฮ์ดี  และสุไลมาน บิน ศุร็อด ก็ถูกเรียกในฐานะนี้ภายหลังจากที่ถูกฆ่าเช่นกัน  แต่การใช้คำในความหมายของผู้ปลดปล่อยนั้นเกิดขึ้นในยุคของการลุกขึ้นสู้ของมุคตาร โดย มุคตาร ษะกอฟี ใช้เรียก มุฮัมหมัด ฮะนะฟียะฮ์[7][8]

ตามคำกล่าวของ Saïd Amir Arjomand  และ Wilferd Madelung  ว่า ความเชื่อเกี่ยวมะฮ์ดี ผู้เร้นกายและผู้ปลดปล่อย ในหมู่มุสลิมนั้นย้อนกลับไปในยุคนิกายกัยซานียะฮ์   เป็นกลุ่มหนึ่งที่เกิดขึ้นหลังจากความพ่ายแพ้ของการลุกขึ้นต่อสู้ของมุคตาร  พวกเขาเชื่อว่า มุฮัมหมัด ฮะนะฟียะฮ์ บุตรของ อาลี อิมามท่านแรกของชีอะฮ์ว่าคือ มะฮ์ดี และหลังจากที่เขาเสียชีวิตลงกลุ่มนี้ก็ประกาศว่าเขายังไม่ตาย แต่เร้นกายอยู่ในภูเขาริฎวา ในเมืองมะดีนะฮ์ และจะกลับมาปรากฏอีกครั้งในฐานะมะฮ์ดีและกออิม Wilferd Madelung กล่าว่า บรรดาชีอะฮ์เรียกลูกหลานหลายท่านของท่านศาสดาในฐานะมะฮ์ดี  เช่น มุฮัมหมัด ฮะนะฟียะฮ์ , อะบูฮาชิม บุตรของมุฮัมหมัด ฮะนะฟียะฮ์ , มุฮัมหมัด บิน มุอาวิยะฮ์ มาจากครอบครัวของ ญะอ์ฟัร อะบูฏอลิบ , มุฮัมหมัด อิบนุ อับดุลลอฮ์ , นัฟส์ ซะกียะฮ์ , ญะอ์ฟัร ซอดิก , มูซา กาซิม   นอกจากกลุ่มกัยซานียะฮ์แล้ว กลุ่มซัยดียะฮ์ ก็ใช้คำนี้เรียกบรรดาผู้ลุกขึ้นต่อสู้ของพวกเขาในฐานะมะฮ์ดี ผู้ปลดปล่อยด้วยเช่นกัน และยังมีกลุ่มย่อยของอิมามียะฮ์ เช่น นาวูซียะ วากิฟียะฮ์ ที่ใช้ชื่อนี้เรียกอิมามท่านที่หกและอิมามท่านที่เจ็ด[9][10]

ทั้งมุฮัมหมัดบาเกร และ ญะอ์ฟัร ซอดิก บรรดาผู้ปฏิบัติตามท่านได้กล่าวสร้างความมั่นใจให้แก่พวกท่านไว้ในหลายกรณีว่า หากลุกขึ้นต่อสู่กับผู้ปกครองแห่งยุคก็จะให้การสนับสนุนพวกท่าน แต่ทั้งสองอิมามได้ให้คำตอบที่สร้างความสงบแก่พวกเขาลงว่า แม้ว่าอิมามทั้งหมดจะเป็นกออิมก็ตามและมีความสามารถที่จะต่อกรกับผู้ปกครองที่อธรรมได้ แต่กออิมผู้ถูกสัญญาไว้นั้นจะมาปรากฏหลังจากบัญชาของพระเจ้าเพื่อมาทำลายความอธรรมให้หมดไป[11]  เกี่ยวกับการใช้คำว่า มะฮ์ดี ในฐานะ ผู้ปลดปล่อยนั้นก็มีทัศนะที่แตกต่างกันออกไปในหมู่ชีอะฮ์  มุดัรริซี เขียนไว้ว่า ชีอะฮ์อิมามียะฮ์รู้จักกับแนวคิดกออิมตั้งแต่ยุคของอาลี และกลุ่มกัยซานียะฮ์  กระทั่งยุคการเร้นกายระยะสั้น ความหมายของมะฮ์ดี  ไม่ใช่เป็นแนวคิดของอิมามียะฮ์ ทว่าในยุคการเร้นกายบรรดาชีอะฮ์เร่มค่อยๆให้ความหมายของมะฮ์ดีนั้นเกี่ยวข้องกับกลุ่มที่ไม่ใข่ชีอะฮ์ และให้ความหมายของกออิมนั้นเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับกับอิมามียะฮ์ แม้ว่าในตำราต่างๆจะถือว่าอิมามท่านที่สิบสองของชีอะฮ์ก็คือกออิมมากระทั่งช่วงปลายศตวรรษที่สาม / ค.ศ. ที่ 9 ก็ตาม แต่ต้นศตวรรษต่อมาตำราต่างๆของชีอะฮ์เรียกอิมามท่านที่สิบสองว่า มะฮ์ดี[12] Abdulaziz Sachedina  กล่าวไว้เช่นกันว่า มะฮ์ดะวียัต ของอิมามท่านที่สิสอง เป็นทฤษฎีอิมามัตของอิมามผู้เร้นกายที่ผนวกเข้ากับความเชื่อการมาปรากฏของอิมามมะฮ์ดีและการสร้างความยุติธรรม ทั้งที่ก่อนหน้านี้อิมามท่านที่สิบสองไม่ถูกเรียกว่ามะฮ์ดีผู้ถูกสัญญามาก่อน ในทางตรงกันข้ามญาวิม ฮุเซน เขียนว่า ไม่เพียงแต่มะฮ์ดี จะหมายถึงผู้ปลดปล่อย ในมุมมองของอิมามียะฮ์ที่ใช้มาตั้งแต่ยุคบรรดาอิมาม ทว่าบรรดาอิมามก็มีความเชื่อว่าพวกท่านแต่คนสามารถเป็นมะฮ์ดีกออิมได้หากสถานการณ์ตอบรับ[13][14] บรรดามุสลิมเชื่อกันมานมนานแล้วว่าท่านศาสดาได้ให้ความหวังถึงการมาของบุรุษผู้หนึ่งที่มาจากเชื้อสายของฮุเซน บิน อาลี ที่จะยืนหยัดขึ้นทำลายอุตริกรรมให้หมดไปจากอิสลาม  แต่การแข่งขันกันทางการเมืองระหว่างมสุลิมเป็นเหตุให้บางกลุ่มได้ทำการบิดเบือนฮะดีษต่างๆ ของศาสดาเพื่อแสวงหาผลประโยชน์ในเวทีทางการเมือง[15]

ตามคำกล่าวของ Saïd Amir Arjomand ว่า ส่วนใหญ่กลุ่มกัยซานีจะเป็นชาวอิหร่าน และคาดว่าชาวอิหร่านมีความรู้เกี่ยวกับผู้ปลดปล่อยจากความเชื่อของศาสนาโซโรแอสเตอร์ วีรบุรุษ อย่าวเชน โฆรชอซิบ  ที่หลังจากตื่นจากการนอนหลับอันยาวนาน พวกอะฮ์รีมันก็จะปรากฏขึ้นบนหน้าแผ่นดิน มุฮัมหมัดอะมีร มุอิซซี และ ตีมูตี ฟิรนีช ว่าส่วนใหญ่ความเชื่อเกี่ยวกับผู้ปลดปล่อย การมาปรากฏของผู้ปลดปล่อย การเร้นกาย และเรื่องที่เกี่ยวข้องกันนี้ นั้นได้มาจากศาสนาก่อนหน้านี้ เช่น ศาสนามานี ศาสนาโซโรแอสเตอร์ ศาสนาวยูดาย และศาสนาคริสต์[16]

ตามที่ญาวิม ฮุเซน ได้เขียนไว้ว่า ที่มาของทัศนะเกี่ยวกับมะฮ์ดีในฐานะผู้ปลดปล่อยนั้นมีอยู๋ในฮะดีษของท่านศาสดา ที่บรรดาสาวกจำนวน 26 ท่านได้รายงานไว้ซึ่งมีอยู่ในหนังสือฮะดีษของพี่น้องซุนนี ซัยดียะฮ์และอิมามียะฮ์  เขาปฏิเสธความฎออีฟของฮะดีษ โดยกล่าวว่า ฮะดีษเหล่านี้ก็แพร่หลายในยุคราชวงศ์อุมัยะฮ์ และก็มีอยู่ในหนังสือ สุลัยม์ บิน เกส ซึ่งอ้างถึงสุลัยม์ บิน เกส ฮิลาลี (ประมาณ ฮ.ศ. 80-90 / ค.ศ. 699-708)[17][18]  อีกด้านหนึ่งนักประวัติศาสตร์ และนักเทววิทยาของชีอะฮ์ เช่น ซัยยิดมุรตะฎอ อัสกะรี และมุฮัมหมัด ฮุเซน ฏอบาฏอบาอี  ย้ำถึงจุดร่วมระหว่างศาสนาเกี่ยวกับความหวังการมาของมะฮ์ดี และสร้างความยุติธรรมขึ้นบนหน้าแผ่นดิน โดยถือว่าเป็นธรรมชาติที่มีอยู่ในตลาดต่างๆ[19] กลุ่มนี้เริ่มจากการกล่าวถึงมะฮ์ดีในฮะดีษต่างๆ ของศาสดาแห่งอิสลามที่ทั้งชีอะฮ์และซุนนีรายไว้ และเชื่อว่าการมีอยู่ของมะฮ์ดีนั้นเป็นสิ่งจำเป็นหนึ่งที่จะต้องเกิดขึ้นตามสัญญาที่มีอยู่ในอิสลามและกุรอานเพื่อสร้างความยุติธรรมให้เกิดขึ้นในหน้าแผ่นดิน[20][21]

สถานการณ์ทางการเมืองและความเชื่อในช่วงปลายศตวรรษที่สามและสี่

ฮะรัม (สุสาน)อิมามฮะซันอัสการี

ในยุคการปกครองของ มุตะวักกิล อับบาซี (ฮ.ศ. 232-247/ค.ศ. 847-861) การเมืองที่ประนีประนอมของมะมูน (ฮ.ศ. 198-218 /ค.ศ. 813-833) และบรรดาคอลีฟะฮ์ภายหลังจากเขามีท่าทีที่ที่แข็งกร้าวต่อชีอะฮ์ ในยุคของมุตะวักกิลเขาสั่งให้ทำลายสุสานของ ฮุเซน บิน อาลี  เขาได้เรียกตัวอิมามท่านท่านที่สิบของชีอะอ์ อิมามฮาดีย์ กับบุตรของท่าน อิมามฮะซันอัสการี จากเมืองมะดีนะฮ์มายังเมืองซามัรรอ เพื่ออยู่ในการควบคุมของคอลีฟะฮ์  มุตะวักกิลทำทุกวิถีทางในการกลั่นแกล้งและไม่เกียรติต่ออิมาม มีรายงานมากมายบ่งบอกว่าผู้ปกครองได้กดดันบรรดาอิมามในเมืองซามัรรออย่างหนัก บรรดาชีอะฮ์ในอิรักและฮิญาซก็ใช้ชีวิตอย่างยากลำบาก มุนตะซิร ผู้เป็นลูกชายและขึ้นปกครองต่อหลังจากผู้เป็นบิดาได้ยกเลิกนโยบายนี้จึงทำให้อิมามฮาดีมีเสรีภาพมากขึ้น แต่นโยบายทางการเมืองของมุตะวักกิลก็ดำเนินต่อไปในยุคของมุสตะอีน (ฮ.ศ. 862-866)  เป็นไปได้ว่าในยุคนี้เองที่อิมามท่านที่สิบของชีอะฮ์ได้ส่ง อุษมาน บินสะอีด เป็นตัวแทนไปยังอิรัก (ซึ่งตัวแทนคนนี้ก็ได้รับการรับรองในยุคของอิมามท่านที่สิบเอ็ด อิมามฮะซันอัสการี ด้วยเช่นกัน) [22][23]  ยุคสุดท้ายของบรรดาชีอะฮ์ เป็นยุคของตัวแทน แต่แตกต่างจากการแต่งตั้งตัวแทนอื่นๆในยุคอะละวี (อิสมาอีลียะฮ์ ซัยดียะฮ์  ลูกหลานของฮะซัน บิน อาลี) ที่มีขึ้นเพื่อการลุกขึ้นต่อสู้ ทว่าตัวแทนในยุคปลายของบรรดาอิมามนั้นมีขึ้นเพื่อกิจด้านศาสนา เช่น การเก็บเงินคุมส์และซะกาตดี[24]

เนื่องจากนโยบายทางการเมือง การเงิน การทหารของมุตะวักกิล การเปลี่ยนเมืองหลวงไปยังเมืองซามัรรอ และการโอนเอียงทางด้านมัซฮับไปสู่กลุ่มฮะนาบิละฮ์ ทำให้อำนาจการปกครองอ่อนแอลง กระทั่งเมื่อเขาถูกลอบสังหารในปี ฮ.ศ. 247 ค.ศ. 861 โดยทาสชาวเติร์ก เป็นเหตุให้อำนาจของราชวงศ์อับบาซีเร่มเสื่อมถอยลง[25]  เกิดสงครามขึ้นภายในแบกแดดและซามัรรอ หลังจากการตายของมุตะวักกิล ก็มีการสังหารคอลีฟะฮ์อีกสี่คน ทำให้ราชวงศ์อับบาซีแตกออกเป็นเสี่ยงๆ เป็นหัวหน้ากลุ่ม (อะมีร) กระจัดกระจายในดินแดนอิสลาม เช่นกลุ่มซอฟาริยอน ที่ขัดแย้งกับผู้นำคนก่อนของกลุ่มฏอฮิรียอน เกี่ยวกับเรื่องเอกราชของตน[26] สถานการณ์ทางการเมืองและศาสนาในช่วงปลายตำแหน่งฮะซัน อัสการี และช่วงต้นหลังจากที่ท่านได้เสียชีวิตไปนั้นอยู่ในยุคการปกครองของมุอ์ตะมิด อับบาซี (ฮ.ศ. 256-892) ที่ถือว่าวิกฤติอย่างมาก ทางด้านการเมืองที่อยู่ในยุคอ่อนแอของราชวงศ์อับบาซี  เกิดการแบ่งฝักแบ่งฝ่ายแข่งแย่งกันขึ้นอย่างกว้างขวาง มุอ์ตะมิด จึงควบคุมอิมามฮะซัน อัสการี ที่ถือว่าเป็นคู่แข่งที่อันตรายในการขึ้นสู่คอลีฟะฮ์ไว้ในเมืองซามัรรอ กระทั่งห้ามไม่ให้บรรชีอะฮ์เข้าพบ[27][28] อีกด้านหนึ่ง มุอ์ตะมิด อับบาซี อยู่ใต้อำนาจของพี่ชาย คือ  มุวัฟฟัก บิลลาฮ์ ที่มีอำนาจทางการทหาร ในลักษณะที่ว่า ค.ศ. 882 สามารถยึดอำนาจของคอลีฟะฮ์ได้เบ็ดเสร็จ[29] มุวัฟฟักและลูกชายของเขา มุอ์ตะฏิด (คอลีฟะฮ์ตั้งแต่ ค.ศ 892-902)และลูกๆ ของเขา มุกตะฟี (ค.ศ.902-908) และมุกตะดิร (ค.ศ. 908-932)  ประสบความสำเร็จในการกู้อำนาจคอลีฟะฮ์กลับมาอีกครั้ง แม้ว่าจะมีอำนาจปกครองเฉพาะในอิรักเท่านั้นก็ตาม แต่พวกเขาก็สามารถขยายอำนาจของตนไปยังอียิปต์ ตะวันตกและอิหร่านผ่านกองกำลังทหารและทางการทูต นับจากยุคของมุอ์ตะฎิดจากนั้นเป็นต้นมาอับบาซีก็ตกอยู่ในอำนาจของครอบครัวชีอะฮ์ชาวฟุรอตและตระกูลที่เพิ่งเข้ารับอิสลาม ชาวญะรอห์ การแก่งแย่งของสองตระกูลนี้ยิ่งทำให้การปกครองระบบเจ้าขุนมูลนายของอับบาซีต้องล่มสลายลง[30]

ช่วงปลายศตวรรษที่สามแห่งฮิจเราะฮ์ศักราช ชาวชีอะฮ์ประสบกับวิกฤติผู้นำ เกิดกลุ่มอิสมาอีลียะฮ์ขึ้นในดินแดนต่างๆ เช่น แอฟริกาเหนือ และซีเรียทางตอนเหนือ การเชิญชวนของกลุ่มอิสมาอีลียะฮ์เพิ่มมากขึ้น กระทั่งอะบูอับดิลลาฮ์ ชีอีย์ สามารถรวบรวมผู้ปฏิบัติตามได้ในฝั่งตะวันตกของอาหรับ ในยุคนี้มีบุคคลหนึ่งนามว่า สะอีด บิน ฮุเซน รู้จักกันในนามของ อุบัยดิลลาฮ์ มะฮ์ดี อ้างตนเป็นอิมาม และอะบูอับดิลลาฮ์ก็เป็นผู้หนึ่งที่ปฏิบัติตามเขา อะบูอับดิลลาฮ์สามารถยึดแอฟริกาได้สำเร็จในปี ฮ.ศ. 297/ค.ศ. 909  ต่อมาในปีเดียวกันนั้น ก็แต่งตั้งให้อุบัยดิลลาฮ์มะฮ์ดีขึ้นดำรงตำแหน่งคอลีฟะฮ์ และจัดตั้งรัฐฟาฏิมียานขึ้น  ส่วนอิสมาอีลีที่ไม่ยอมรับคอลีฟะฮ์ ฟาติมียาน ก็จัดตั้งกลุ่มการ์มาติยานขึ้น อีด้านหนึ่ง ชีอะฮ์ซัยดี ก็เกิดกลุ่มซัยดีขึ้นในปี ฮ.ศ. 250 / ค.ศ. 864 ในฏับริสตอน และในปี ฮ.ศ. 284 / ค.ศ. 879 ก็เจัดตั้งรัฐขึ้นในเยเมน[31] ในยุคนี้ชาวขีอะฮ์จะยึดหลักเทวะวิทยาตาม อะบูสะฮ์ล นูบัคตี (เกิด ฮ.ศ. 237 เสียขีวิต ฮ.ศ. 311) จากนั้นก็ยึดหลักเทวะวิทยาตามเชคมุฟีด[32]

ช่วงต้นการเร้นกายระยะยาว เป็นยุคที่รู้จักกันในนามของ "ศตวรรษแห่งชีอะฮ์" ช่วงต้นศตวรรษที่สี่แห่งฮิจเราะฮ์ศักราช/ศตวรรษที่สิบแห่งคริสต์ศักราช นิกายซัยดี ครอบครัวอาลิบูยะฮ์ มีอำนาจเหนือดินแดนที่สำคัญของอิหร่าน ได้แก่ ฟอร์ส เรย์ และอิศฟาฮาน[33] ในปีฮ.ศ. 334/ค.ศ. 945 บะนีอับบาสตกอยู่ภายใต้อำนาจของชีอะฮ์อาลิบูยะฮ์  เบื้องต้นอาลิบูยะฮ์นั้นเป็นชีอะฮ์ซัยดี เมื่องขึ้นปกครองก็เปลี่ยนมาเป็นชีอะฮ์สิบสองอิมาม ในยุคอาลิบูยะฮ์ ก็มีการปกครองชีอะฮ์ในดินแดนอื่นๆ เช่น ฟาฏิมียาน ในอียิปต์และแอฟริกาเหนือ บะนีฮัมดาน ทางตอนเหนือของอิรักและซีเรีย  และการปกครองของอิดรีซิยาน ที่ปกครองดินแดนส่วนหนึ่งทางแอฟริกาเหนือ[34]  เนื่องจากอิทธิพลของฟาฏิมียานและอาลิบูยะฮ์ในดินแดนที่เป็นจุดศูนย์กลางของอิสลามทำให้ชีอะฮ์มีความเข้มแข็งทั้งทางด้านศาสนาและแนวความคิด ถือได้ว่าเป็นยุครุ่งเรืองและผลงานทางวิชาการก็เกิดขึ้นมากมายในยุคนี้ อาลิบูยะฮ์เป็นผู้เผยแผ่วิชาการของชีอะฮ์  อีกทั้งให้การสนับสนุนบรรดานักการศาสนา กระทั่งเป็นการปูทางการเข้ามาของแนวคิดด้านเทวะวิทยาของมุอ์ตะซีละฮ์สู่ชีอะฮ์[34][35]

ใกล้เคียง

แหล่งที่มา

WikiPedia: ฮุจญะตุลลอฮ์ อัลมะฮ์ดี http://lib.ahlolbait.com/parvan/resource/41915/%D8... http://www.britannica.com/eb/article-9036670/ghayb... http://www.britannica.com/eb/article-9050117/mahdi http://www.britannica.com/eb/article-9054165/Muham... http://www.holybooks.com/wp-content/uploads/Al-Kaf... http://www.iranica.com/newsite/articles/ot_grp7/ot... http://www.irib.ir/worldservice/Etrat/English/Imam... http://twelfthimam.net/ http://www.al-islam.org/al-tawhid/default.asp?url=... http://www.al-islam.org/awaited/index.htm